ประวัติท้องถิ่นชุมลาวเวียงจันทน์หมู่บ้านหาดสองแคว
การตั้งถิ่นฐานชุมชนลาวเวียงจันทน์หมู่บ้านหาดสองแคว ตำบลหาดสองแคว อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ จากคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ได้กล่าวไว้ว่า บรรพบุรุษของตนได้ถูกกวาดต้อนมาจากเมืองลาวเวียงจันทน์ ในฐานะเฉลยศึกสงคราม แรกเริ่มถูกส่งเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่านที่หมู่บ้านกองโค ตำบลคอรุม อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ในปัจจุบัน เมื่อชุมชนขยายใหญ่ขึ้น ไปทางทิศเหนือ ตามลำแม่น้ำน่านจนถึงเขตบ้านแก่ง จนเกิดเป็นชุมชนเล็ก ๆตามมา ได้แก่บ้านวังสะโม บ้านหาดสองแคว บ้านเด่นสำโรงและบ้านวังแดง
สำหรับที่มาของชื่อหมู่บ้านหาดสองแควนั้นได้ตั้งชื่อตามภูมิประเทศที่ตั้งของหมู่บ้านในขนาดนั้น ซึ่งเป็นทางออกของลำน้ำสองสายไหลมาบรรจบกัน จึงรียกว่า “ สองแคว ” และบริเวณที่ตั้งของหมู่บ้านได้เกิดเป็นสันทราย ยื่นออกมาเป็นแนวหาดทรายยาวตลอดหมู่บ้าน จึงเรียกบริเวณนี้ว่า“ บ้านหาดสองแคว ”สมัยก่อนชาวเรือที่เดินทางผ่านมาจึงมักจะค้างแรมที่บริเวณหาดทรายแห่งนี้
ชุมชนลาวเวียงจันทน์หาดสองแคว เป็นชุมชนลาวเวียงจันทน์ที่ถูกกวาดต้อนเข้ามาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 หลังจากปราบกบฏอนุวงศ์ได้แล้วในปี พ.ศ. 2371 การย้ายถิ่นเข้ามาของ คนลาวเมืองเวียงจันทน์มีทั้งกวาดต้อนด้วย กองทัพกรุงเทพและหัวเมืองลาวต่าง ๆ โดยส่งกองทัพตามเมืองใหญ่ ๆ ก่อน ได้แก่เมืองพิษณุโลก เมืองพิชัย เป็นต้น
พัฒนาการของชุมชนชาวลาวเวียงจันทน์หมู่บ้านหาดสองแคว สันนิษฐานว่าเกิดจากการขยายตัวของจำนวนประชากร ออกไปในพื้นที่ใกล้เคียงและกว้างไกลออกไปเพื่อบุกเบิกที่ดินทำกินของตนโดยได้เดินทางอพยพขึ้นเหนือตามลำน้ำน่าน จากหมู่บ้านกองโค จนถึงหมู่บ้าน วังสะโม ส่วนหนึ่งได้หักล้างถางพงสร้างบ้าน ปลูกเรือน
เมื่อกระแสน้ำไหลผ่านบริเวณที่ตั้งของหมู่บ้าน ซึ่งมีสภาพพื้นที่ลาดชันน้อยลง กระแสน้ำไหลช้าลงกรวดทรายและโคลนตมที่น้ำพัดมาด้วยจึงตกลงไปที่ก้นน้ำเมื่อวันเวลาผ่านไปตะกอนเหล่านั้นก็ทับทมสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นสันทรายตลอดจนแนวทางยาวของหมู่บ้าน บรรพบุรุษของชาวเวียงจันทน์จึงสร้างบ้านเรือนขึ้นเป็นชุมชนเล็ก ๆ จนกลายเป็นแนวสันทรายตลอดแนวยาวของหมู่บ้าน บรรพบุรุษของชาวเวียงจันทน์จึงตั้งบ้านเรือนเป็นชุมชนเล็ก ๆ และเรียกชุมชนนี้ว่า “บ้านหาดสองแคว” ซึ่งหมายถึงหมู่บ้านที่ตั้งอยู่บริเวณสันทราย ซึ่งเกิดขึ้นจากกระแสน้ำของลำน้ำ (คลองตรอน) ที่ไหลผ่านมาพบกับสายน้ำที่ใหญ่กว่า (แม่น้ำน่าน) ที่ได้พัดพาเอากรวดทรายโคลนตมตามมาตกตะกอนสะสมกัน จนมีลักษณะเป็นแนวยาวขนานไปกับแนวฝั่งแม่น้ำและบรรพบุรุษชุมชนชาวลาวเวียงจันทน์บางกลุ่มก็เดินทางไปเรื่อย ๆ จนถึงบ้านแก่งและตั้งเป็นชุมชนสร้างปลูกเรือนตั้งแต่นั้นมา
จากเส้นทางการเดินทางอพยพของบรรพบุรุษชาวลาวเวียงจันทน์กลุ่มนี้ หากคิดเป็นระยะทางจากหมู่บ้านกองโคไปยังหมู่บ้านชาวลาวเวียงจันทร์กลุ่มต่าง ๆ ที่ตั้งถิ่นฐานบริเวณริมแม่น้ำน่านนั้น ซึ่งประกอบด้วยหมู่บ้านวังสะโม หมู่บ้านหาดสองแควหมู่บ้านเด่นสำโรง และหมู่บ้านวังแดงตามลำดับ ซึ่งทางน้ำและทางบกในปัจจุบันสามารถใช้เวลาในการเดินทางเพียงไม่เกิน 1 วันเท่านั้น จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ว่า การอพยพของบรรพบุรุษชาวลาวเวียงจันทน์หมู่บ้านหาด
สองแควนั้น น่าจะเกิดจากการขยายตัวของจำนวนประชากรออกไปในพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อบุกเบิกที่ดินของตนเองมากกว่าสาเหตุอื่น
เข้าชม : 1576 |