[x] ปิดหน้าต่างนี้
Home
ปฏิทินปฏิบัติการ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้
บทความ/หลักสูตร
ติดต่อเรา
เรื่องทั้งหมด
เข้าระบบ
กลับหน้าหลัก
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐
ศส.ปชต.
อังคาร ที่ 5 เดือน กันยายน พ.ศ.2560
ศส.ปชต.คืออะไร
๑)นิยาม ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยและการเลือกตั้งตำบล(ศส.ปชต.) ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยและการเลือกตั้งตำบล (ศส.ปชต.) เป็นศูนย์ที่จัดตั้งโดยสำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้งประจำจังหวัดเชียงใหม่โดยจะให้เป็นองค์กรภาคประชาสังคมระดับตำบลที่มีการบริหารจัดการกันเองไม่ใช่เฉพาะเรื่องการเลือกตั้ง สามารถดำเนินการเรื่องอื่นได้โดยบูรณาการทรัพยากรในพื้นที่มาช่วยกันดำเนินงานในวิถีชีวิตประชาธิปไตย
๒.)แนวคิดการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยและการเลือกตั้งตำบล (ศส.ปชต.) ภายใต้กรอบความคิดว่า ประชาธิปไตยควรสร้างขึ้นจากคนในท้องถิ่น (ชุมชน) เพื่อสร้างให้ท้องถิ่นมีวิถีชีวิตประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง และเป็นการสร้างความเป็นพลเมืองให้กับคนในชุมชน เพื่อให้คนในชุมชนเป็นสมาชิกของสังคมที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ให้มีความรู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่นเคารพความเห็นต่าง ความเสมอภาค กติกา หรือกฎหมาย รับผิดชอบต่อสังคมโดยเริ่มที่ตนเอง เมื่อสมาชิกในชุมชนมีความเป็นพลเมืองจะทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง มีวิถีชีวิตประชาธิปไตย
๓)หลักการสำคัญการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยและการเลือกตั้งตำบล(ศส.ปชต.) เพื่อให้มีองค์กรภาคประชาสังคมระดับตำบลโดยให้คนในพื้นที่เป็นเจ้าขององค์กร เป็นเวที หรือ สถานที่แลกเปลี่ยนพูดคุยกัน การขับเคลื่อนงานโดยคนในพื้นที่ มีการประสานงานทุกภาคส่วน เน้นสามประสาน “ บวร” เรียนรู้โดยการกระทำอย่างต่อเนื่อง
๔ )กฎของการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยและการเลือกตั้งตำบล (ศส.ปชต.) มี ๓ ข้อ คือ๑) มีความเชื่อว่าประชาธิปไตยที่มั่นคงยั่งยืน ประชาชนต้องสร้างเอง
๒) หน่วยงานภายนอกเป็นแต่ผู้สนับสนุน ช่วยเหลือส่งเสริมหรือให้คำปรึกษา
๓) ไม่ใช้เงินเป็นตัวตั้งในการขับเคลื่อนแต่ใช้การผสานพลังทุกภาคส่วนร่วมมือกัน
๕)วัตถุประสงค์การจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยและการเลือกตั้งตำบล (ศส.ปชต.) มี ๔ ข้อคือ
๑) เป็นศูนย์กลางปฎิบัติงานและประสานงานของเครือข่ายในการพัฒนาประชาธิปไตยระดับตำบล
๒)เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และปลูกจิตสำนึกให้แก่เยาวชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชน อันเป็นการพัฒนาประชาธิปไตยในระยะยาวอย่างมั่นคงและยั่งยืน
๓) เพื่อให้เยาวชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชน ในฐานะผู้มีส่วนได้เสียและเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ตระหนักถีงภาระหน้าที่และความรับผิดชอบของตนต่อการพัมนาประชาธิปไตย
๔) เพื่อเป็นเครือข่ายในการรณรงค์ ถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตย การเลือกตั้งให้แก่ประชาชน รวมทั้งให้ความช่วยเหลือการบริการประชาชนในการเลือกตั้งและกิจกรรมอื่นๆ
๖โครงสร้างคณะกรรมการบริหารศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยและการเลือกตั้งตำบล (ศส.ปชต.)ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ/ปราชญ์ท้องถิ่น/เจ้าคณะตำบล ตัวแทนพลเมืองอาสา ผู้แทนสถานศึกษา/ผุ้แทนสถานศึกษาที่มีหน่วยลูกเสืออาสากกต. ผู้แทนอสม. อช. ประธานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผุ้บริหารอปท. ครูกศน.ตำบล (อาจเพิ่มเติมได้อีก๒-๓ คน )
ภารกิจ ศส.ปชต.
1. การบริหารจัดการ ศส.ปชต
คณะกรรมการ ศส.ปชต. มีบทบาทหน้าที่ในการบริหารจัดการ ศส.ปชต. ให้มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในตำบล เพื่อให้สามารถเป็นแบบอย่างแก่ตำบลอื่นๆ ที่จะจัดตั้ง ศส.ปชต. ในปีต่อไป
2. การให้ความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตย
การให้ความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตย เป็นการให้ความรู้เพื่อสร้างจิตสำนึกประชาธิปไตย ให้บุคคลมีวิถีชีวิตประชาธิปไตย อันจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนให้เห็นแก่ประโยชน์ของสังคมและส่วนรวม ต่อต้านพฤติกรรมทุจริต
คอร์รัปชัน และการซื้อสิทธิขายเสียง
3. การขยายเครือข่ายภารกิจพลเมือง
กรรมการ ศส.ปชต. ไม่อาจปฏิบัติภารกิจให้สำเร็จโดยลำพัง จึงจำเป็นต้องมีเครือข่ายในพื้นที่ตำบล หมู่บ้าน ร่วมเป็นเครือข่ายในการปฏิบัติงาน เพื่อให้การปฏิบัติงาน เข้าถึงได้ทุกพื้นที่ และมีความต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมในการให้ความรู้ การรณรงค์ การร่วมปฏิบัติงานในการเลือกตั้ง และการเป็นเครือข่ายข่าวในการเลือกตั้ง
3.4 ส่งเสริมหมู่บ้าน/ชุมชนประชาธิปไตย
การส่งเสริมให้มีการจัดตั้งหมู่บ้านหรือชุมชนประชาธิปไตย
3.5 ส่งเสริมกิจกรรมประชาธิปไตย
การดำเนินชีวิตประจำวันของเรา ต้องยึดหลักเกณฑ์ กฎ กติกา ที่เป็นที่ยอมรับในการอยู่ร่วมกัน ในสังคมประชาธิปไตยก็มีหลักการประชาธิปไตยให้ยึดถือปฏิบัติ หลักการ หรือ กฎ กติกา ถือเป็นหลักให้สมาชิกอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ไม่ให้มีการได้เปรียบเสียเปรียบกันจนก่อให้เกิดความเดือดร้อนขึ้นในสังคม การใช้สิทธิเสรีภาพของบุคคลก็ต้องอยู่ภายใต้กฎ กติกาที่มีอยู่ ตลอดจนไม่ล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น
3.6 มีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้ง
การเลือกตั้งแต่ละครั้งจะสำเร็จได้ ต้องได้รับความร่วมมือร่วมใจจากประชาชนทุกคนถือเป็นวาระแห่งชาติ จะมอบให้ใคร หรือองค์กรใดดำเนินการตามลำพังไม่อาจประสบผลสำเร็จได้
คณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีมติในคราวการประชุมครั้งที่ ๑๑๒/๒๕๕๗ เมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๗ เห็นชอบ เรื่อง การขับเคลื่อนศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยและการเลือกตั้งตำบล (ศส.ปชต.) ประจำปี พ.ศ.๒๕๕๘ ตามนโยบาย ดร.ประวิช รัตนเพียร กรรรมการการเลือกตั้ง รับผิดชอบด้านกิจการการมีส่วนร่วมเสนอโดยให้จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยและการเลือกตั้งตำบล ๑ อำเภอ ๑ ศส.ปชต. และทำตามบันทึกตกลงความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ โดย สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ร่วมกันพิจารณาจากตำบลที่มีพื้นฐานความเข้มแข็งของชุมชนจากองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้
๑. ประชาชนในหมู่บ้าน ตำบล มีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชนดี มีพื้นฐานความเข้มแข็งในเรื่องการทำกิจกรรมสามารถพัฒนาให้เป็นแบบอย่างแก่ตำบลอื่น ๆ ได้
๒.ผู้นำชุมชนในหมู่บ้าน ตำบล มีความเข้มแข็ง มีความพร้อมในการสนับสนุนภารกิจของศูนย์ และที่สำคัญ คือมีแนวความคิดเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมุ่งเสริมสร้างความรัก ความสามัคคี ต้องการได้รับการพัฒนาไปข้างหน้า
๓. พลเมืองอาสาพัฒนาประชาธิปไตย ที่มีความรู้ความสามารถ มีความพร้อมและความเข้มแข็งในการปฏิบัติงาน
๔. ครู กศน.ตำบล มีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง และเป็นที่ปรึกษาให้กับคณะกรรมการศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยและการเลือกตั้งตำบลได้เป็นอย่างดี
๕. มีสถานที่ หรืออาคาร ที่สามารถรวมกลุ่มประชุมหรือ จัดกิจกรรมรวมกันได้ตามความเหมาะสม หรือสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน ตำบล
เข้าชม : 11504
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ 5 อันดับล่าสุด
ศส.ปชต.
5 / ก.ย. / 2560
หน้าที่ของรัฐ
5 / ก.ย. / 2560
สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย
5 / ก.ย. / 2560
หน้าที่ของปวงชนชาวไทย
5 / ก.ย. / 2560
กศน.ตำบลหาดสองแคว อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์
โทรศัพท์ 084-8187086 อ.มุฑิตา เที่ยงน้อย ,
โทรศัพท์ 084-5792648 อ.สุวิท จันมลฑา
E-mail :
tron-nfe
@hotmail.com
Powered by
MAXSITE 1.10
Modify by นิกร เกษโกมล Version 2.04tb
Admin