คนพิการที่อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข |
รากฐานความคิด คุณภาพชีวิต :
จากผลกระทบในเชิงลบของการพัฒนาที่มุ่งเน้นความทันสมัยและการเป็น อุตสาหกรรมที่มีต่อประเทศที่กำลังพัฒนาในช่วงทศวรรษ 1970 ทำให้องค์กรระหว่างประเทศ ที่เป็นแกนนำในการผลักดันความคิดการพัฒนาอย่างเช่น องค์การสหประชาชาติ(UN) ธนาคารโลก(World Bank) และองค์กรความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการพัฒนา(OECD) เป็นต้น ต้องทบทวนแนวคิดการพัฒนาแบบเดิม และได้สร้างแนวคิดการพัฒนาแบบใหม่ ที่มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตขึ้นมา พร้อมกับสร้างเครื่องมือในการชี้วัดทางสังคมเพื่อใช้ในการวัด ระดับปัญหาและการพัฒนาของประเทศต่างๆ ถัดจากนั้นแนวคิดคุณภาพชีวิตได้รับการนำไป ศึกษาวิจัยกันอย่างกว้างขวางในประเทศต่างๆ และมีการพัฒนาสืบเนื่องกันมาโดยตลอดจนถึง ปัจจุบัน
รากฐานความคิดคุณภาพชีวิต เป็นแนวคิดที่มีข้อถกเถียงทางทฤษฎีค่อนข้าง สูง มีการตีความและอธิบายกันอย่างหลากหลายทั้งจากนักวิชาการและหน่วยงานต่างๆ ของ แต่ละประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากแนวคิดนี้มีความคลุมเครือสูง กล่าวคือในด้านหนึ่งคุณภาพชีวิต สะท้อนระดับความอยู่ดีเป็นสุขของปัจเจกบุคคล แต่อีกด้านหนึ่งอาจมีนัยที่สะท้อนถึงสภาพแวดล้อม ที่ส่งผลต่อระดับความอยู่ดีเป็นสุขด้วยเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามแม้ว่าการนิยามความหมาย การวัด และการสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิต ยากที่จะหาข้อตกลงร่วมกันได้ แต่การ ประกาศพันธะสัญญาร่วมกันของประเทศต่างๆ ในการพัฒนาที่มีเป้าประสงค์เพื่อยกระดับ คุณภาพชีวิต กลับได้รับการยอมรับและนำไปปฏิบัติอย่างแพร่หลาย
นำเสนอโดย น.ส.พัชรี เส็นบัตร ศกพ.จังหวัดพัทลุง E-mail : pucharee1@hotmail.com
เข้าชม : 351
|