[x] ปิดหน้าต่างนี้
   

  

กศน.อุตรดิตถ์
ผู้พิการเข้าถึงการศึกษาได้จริงหรือ?

พฤหัสบดี ที่ 24 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2553


 

ผู้พิการเข้าถึงการศึกษาได้จริงหรือ?
23 มิถุนายน 2553

ภาพ คนพิการนั่งรถเข็ญ

นับตั้งแต่รัฐบาลประกาศนโยบายเรียนฟรีตั้งแต่ระดับอนุบาลยันจบปริญญาตรี ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้วในปีการศึกษา ๒๕๕๓ ครอบคลุมรวมไปถึงผู้พิการกว่า ๒ แสนคนทั่วประเทศ กลายเป็นความหวังให้ผู้ด้อยโอกาสในสังคมได้เข้าถึงการศึกษาเสียที

อย่างไรก็ต่าม ศุภชีพ ดิษเทศ นายกสมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย ตั้งคำถามกับระบบการศึกษาไทยที่แม้จะเป็นการเรียนฟรีแต่ยังไม่เอื้อให้กับผู้พิการ ว่า กระทรวงศึกษาธิการได้มีการเตรียมความพร้อมด้านครูผู้สอน สื่อการเรียนการสอน และภูมิทัศน์ เพื่อรองรับเด็กกลุ่มนี้มากน้อยเพียงใด เนื่องจากผู้พิการมีหลายประเภท ทางสายตา เคลื่อนไหว หูหนวก ปัญหาทางสติปัญญาฯลฯ ที่สำคัญยังกระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศ

จะให้โรงเรียนทุกแห่งเตรียมความพร้อมทุกด้านเพื่อรองรับผู้พิการ เชื่อว่า คงไม่สามารถทำได้ครบทุกแห่ง จึงเสนอให้มีโรงเรียนต้นแบบเพื่อให้ผู้พิการสามารถเรียนร่วมกับเด็กปกติอย่างน้อยจังหวัดละแห่ง ขณะเดียวกันควรปรับสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนให้เอื้อต่อผู้พิการโดยเฉพาะระบบขนส่งเพื่อผู้พิการ หรือหาที่พักให้แก่ผู้พิการ ศุภชีพ กล่าว

ศุภชีพ มองว่า นโยบายของรัฐที่สนับสนุนให้ผู้พิการเรียนสูงขึ้น เป็นเรื่องดี ในอนาคต ๕ ปี ๑๐ ปีข้างหน้า จะมีผู้ที่พิการเรียนจบมีวุฒิทางการศึกษาสูงขึ้น จบ ม.๓ ม.๖ จบ ปวช.ปวส.หรือปริญญาตรี แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือ การหางาน ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก ปัจจุบันมีน้อยมากที่จะเปิดโอกาสให้พวกเขาเข้าทำงาน มีอาชีพ มีรายได้เลี้ยงตัวเอง เมื่อรัฐพยายามยกระดับคุณภาพการศึกษาแล้วก็ขอให้ผลักดันการมีงานทำ เขียนกฎหมายเปิดโอกาสให้ผู้พิการมีเก้าอี้นั่งในสถานประกอบการ หรือสถานที่ราชการบ้าง สมัยก่อนมีกฎหมายบังคับให้สถานประกอบการรับผู้พิการเข้าทำงาน โดยพนักงานปกติ ๒๐๐ คนต่อผู้พิการ ๑ คน แต่กฎหมายก็เปิดช่องให้แก่สถานประกอบการว่าหากไม่รับผู้พิการเข้าทำงานก็ส่งเงินเข้ารัฐแทน จึงอยากให้รัฐทำเป็นตัวอย่างรับผู้พิการเข้าทำงาน เชื่อว่า สถานประกอบการจะรับเข้าทำงานด้วย

ผมเข้าใจผู้พิการทุกคนดี เพราะผมก็เป็นผู้พิการ รู้ปัญหาการเข้าไม่ถึงการศึกษาและการไม่มีงานทำ

มณีรัตน์ ประภาษา อายุ ๓๑ ปี พิการร่างกาย นั่งวีลแชร์ เรียนจบปริญญาตรี สาขารัฐประศาสนศาสตร์ เอกบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิการ (มสธ.) ปัจจุบันเป็นพนักงานรับโทรศัพท์ ๑๑๓๓ บอกว่า ผู้พิการส่วนใหญ่เข้าถึงการศึกษาในระบบได้น้อยมาก ด้วยข้อจำกัดหลายประการ บางคนพ่อแม่มีฐานะยากจน และผู้พิการจะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าคนอื่น ส่วนมากนั่งรถเมล์ไม่ได้ต้องนั่งแท็กซี่ เนื่องจากศูนย์การศึกษาเพื่อคนพิการอยู่ไกลและมีไม่กี่แห่ง

ไม่ได้พิการมาแต่กำเนิดแต่มีปัญหาโรคเลือดส่งผลให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง ตอนนั้นเรียนอยู่ ม. ๒ ต้องขาดเรียนบ่อยๆ เพื่อไปพบแพทย์ สุดท้ายต้องลาออกเพื่อมารักษาตัว เปลี่ยนมาเรียนเทียบกับ กศน.แทนกระทั่งจบ ม.๖ จะไปเรียนมหาวิทยาลัยปิดคงลำบาก ต้องเรียนสัปดาห์ละ ๕ วัน จึงตัดสินใจเรียน มสธ.นั่งอ่านตำราอยู่บ้าน ไปสอบอย่างเดียว” มณีรัตน์ เล่าถึงความยากลำบากที่ผ่านมาซึ่งนับว่า เธอยังโชคดีกว่าเพื่อนที่พิการหลายคนที่มีโอกาสเรียนมีงานทำมีรายได้เลี้ยงตัวเองและไม่ต้องเป็นภาระของพ่อแม่

ต่างจาก ศุภโชค มีไคยะ อายุ ๒๗ ปี พิการร่างกาย นั่งวีลแชร์ เรียนจบ ม.๖ เล่าให้ฟังว่า ยังหางานทำไม่ได้ เขาเรียนจบแค่ ม,๖ สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์โปรแกรมออฟฟิศได้ จึงอยากขอให้สถานประกอบการช่วยรับเข้าทำงาน หรือส่งงานที่สามารถนั่งทำที่บ้านได้ เพราะไม่อยากเป็นภาระของครอบครัว

กว่าจะได้วุฒิมีความรู้ด้านคอมพ์ไม่ใช่เรื่องง่ายต้องดั้นด้นไปเรียนที่ กศน.กับศูนย์ฝึกอาชีพเพื่อคนพิการ พระประแดง ซึ่งการเดินทางค่อนข้างลำบากมาก ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เนื่องจากระบบขนส่งบ้านเราไม่เอื้อให้คนพิการจึง จำเป็นต้องนั่งแท็กซี่

ศุภโชค เล่าพร้อมกับแสดงความเห็นว่า การที่รัฐยกคุณภาพการศึกษาแก่ผู้พิการให้เรียนฟรี ถือเป็นเรื่องดี แต่ต้องถามว่าฟรีทุกอย่างหรือไม่ ไม่อยากเหมือนโครงการเรียนฟรี ๑๕ ปีไม่ได้ให้ฟรีทุกอย่าง โรงเรียนยังเก็บอีกหลายรายการ รัฐต้องระบุให้ชัดเจน และเมื่อเรียนจบแล้วรัฐควรหางานให้พวกเราทำด้วย เพื่อไม่เป็นภาระของสังคม (ASTVผู้จัดการออนไลน์โดย.. สุกัญญา แสงงาม/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๒๒ มิ.ย. ๒๕๕๓ )

นำเสนอโดย  นางสาวณัชชา  เกิดเอี่ยม  สำนักงาน กศน.จังหวัดอุตรดิตถ์



เข้าชม : 325


กศน.อุตรดิตถ์ 5 อันดับล่าสุด

      คู่มือหลักสูตรพัฒนาอาสาสมัครเพื่อคนพิการ 24 / มิ.ย. / 2553
      ผู้พิการเข้าถึงการศึกษาได้จริงหรือ? 24 / มิ.ย. / 2553




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ ที่นี่ เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

กศน.ตำบลหาดสองแคว  อำเภอตรอน  จังหวัดอุตรดิตถ์
โทรศัพท์ 084-8187086  อ.มุฑิตา  เที่ยงน้อย , โทรศัพท์ 084-5792648  อ.สุวิท  จันมลฑา
 E-mail : tron-nfe@hotmail.com 
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.04tb    Admin