มารู้จักโรค LD กันเถอะคะ คุณพ่อ-คุณแม่ ทราบกันยังคะ
เด็ก LD กับบทบาททางกิจกรรมบำบัด
LD หรือเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านการเรียนรู้
คือจะมีระดับการเรียนที่ต่ำกว่าเด็กปกติ 2 ชั้นเรียน บกพร่องทางทักษะทางด้านการอ่าน เขียน และคำนวนโดยที่ไม่ใช่สาเหตุมาจากการไม่มีโอกาสได้รับการศึกษา หรือไม่ใช่เพราะทางบ้านครอบครัวแตกแยกทำให้เด็กไม่อยากเรียนไม่อยากอ่าน แต่เป็นเพราะความบกพร่องทางกด้านสติปัญญาจริงๆ เด็กเหล่านี้ระดับสติปัญญาที่ไม่ถึงขั้นปัญญาอ่อนและอาจจะต่ำแต่ก็ไม่เกินระดับคาบเส้นคือ IQ 70 - 79 , บางคนอยู่ในระดับปัญญาทึบ IQ 80 - 90 ซึ่งถือว่าไม่ใช่เด็กที่มีภาวะปัญญาอ่อนจนถึงขั้นพิการตามพระราชบัญญัติผู้พิการ แต่จะถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มผู้พิการตาม
หลักเกณฑ์ของ สปสช. ( สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ) ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของโครงการค้นหาเด็ก LD ในโรงเรียนโดยใช้การประเมินตามกระบวนการทางกิจกรรมบำบัดเพื่อจัดแผนการเรียนการสอนเฉพาะบุคคลและการบำบัดรักษาทางกิจกรรมบำบัด ซึ่งแต่ก่อนเด็กในกลุ่มนี้ทางโรงเรียนจะพาไปวัดไอคิวโดยนักจิตวิทยา ซึ่งผลที่ออกมาคือเด็กมีไอคิวปกติไม่ใช่ปัญญาอ่อน แพทย์ก็จะไม่รับรองให้ว่าเป็นผู้มีความบกพร่องทางด้านการเรียนรู้ และการวัดไอคิวต้องใช้เวลานาน เมื่อเทียบกับจำนวนของเด็กที่ทางโรงเรียนคัดกรองออกมาว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง จากเหตุผล 2 ประการที่เป็นแรงผลักดันให้งานกิจกรรมบำบัดได้อาสาเข้าไปทำการคัดกรองตามกระบวนการ SI
เพื่อคัดแยกเด็ก LD ออกมา คือ
1. การขยายการรับรองความพิการจาก สปสช. ว่าให้เด็กที่มีระดับ IQ 70 - 79 นั้นเป็นผู้พิการตาม สปสช. เพื่อให้ได้รับการช่วยเหลือเพื่อการบำบัดฟื้นฟู และช่วยเหลือทางการศึกษาคือการจัดโปรแกรมการเรียนการสอนเฉพาะบุคคลตามระดับความสามารถและปัญหาของเด็ก
2. การวัดไอคิวที่ต้องใช้เวลาที่นานพอสมควรจึงทำให้เด็กได้รับการวัดไอคิวไม่ทั่วถึง การรับรองก็ออกได้ช้าหรือขาดไป การคัดกรองตามกระบวนการทางกิจกรรมบำบัดซึ่งใช้หลักของ SI เข้ามาจับจึงเป็นวิธีที่ง่ายและรวดเร็วเมื่อแปลผลว่าเป็น LD กุมารแพทย์ที่เห็นชอบโครงการก็จะออกเอกสารรับรองความพิการตามหลัก สปสช. ( หรืออาจจะรับรองว่าเป็น LD ตามใบความคิดเห็นของแพทย์ก็พอเพราะทางโรงเรียนต้องการแค่ใบแสดงความคิดเห็นของแพทย์ก็ถือว่าผ่านแล้ว เพราะบางทีการรับรองว่าเป็นผู้พิการตาม สปสช. นั้น
ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่พิการตาม พรบ. แต่มันก็เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก แค่แพทย์รับรองว่าเป็น LD ตามผลการประเมินของนักกิจกรรมบำบัดก็ถือว่าเป็นประโยชน์สำหรับเด็กแล้ว เพราะทางโรงเรียนจะนำใบแสดงความคิดเห้นนี้ไปเป็นหลักฐานในการจัด IEP สำหรับเด็ก )
ปัญหาที่พบจากการดำเนินโครงการคือ การวัดตามกระบวนการทางกิจกรรมบำบัดตามหลัก SI
คือ บางครั้งเมื่อเด็กที่มีอายุมากเช่น 9 - 10 ขวบ ซึ่งก็ถือว่าสมองได้พัฒนาการเต็มที่แล้ว การใช้ SI มาจับก็ไม่สามารถทำได้เพราะเด็กสามารถทำได้หมด คือผ่านประเมิน เพียงแต่ว่าเด็กเหล่านั้น ยังเขียน อ่าน คำนวณได้ต่ำกว่าเด็กปกติ 2 ชั้นเรียนนั่นเอง จึงมีคำถามว่า ทางกิจกรรมบำบัดจะสามารถคิดหาวิธีการคัดกรองเด็ก LD อย่างเป็นมาตรฐานได้อย่างไรบ้าง เพราะหากทำได้และเป็นที่ยอมรับอย่างเป็นทางการ บทบาทของเราก็จะเพิ่มขึ้นและมีความชัดเจนด้วย ********* ซึ่งโครงการค้นหาเด็ก LD ในตรงเรียนผู้ที่เริ่มต้นและบุกเบิกเป็นท่านแรกคือ พี่โฉมยงค์ บุตรราช นักกิจกรรมบำบัด รพ. แพร่ และผมก็ได้ไปศึกษาจากพี่โฉมยงค์ และนำไปทำโครงการที่พะเยาและก็ได้รับการตอบรับที่ดีจากทางโรงเรียนระดับประถมศึกษา แต่ก็ไม่สามารถไปวัดได้ครบเพราะความจำกัดทางด้านเวลาและจำนวนบุคลากร และด้วยประสบการณ์ที่น้อยกว่า จึงทำให้มีปัญหาที่ต้องให้คิดและแก้มากมาย ในที่นี้หมายถึงการอธิบายเพื่อให้แพทย์ยอมรับในการประเมินของเรา หมายความว่าแพทย์คนนี้เข้าใจ แต่อนาคตข้างหน้าแพทย์ที่มารับช่วงต่อจะเข้าใจตรงกันหรือไม่ จึงมีความคิดว่าหากเราสามารถจัดทำแบบประเมินที่เป็นมาตรฐานตามกระบวนการทางกิจกรรมบำบัด สามารถ วัด และแปลผลออกมาได้อย่างชัดเจน เพื่อการรับรองโดยแพทย์ คงจะเป็นการดี นอกเหนือจากการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก LD
โดย ตะโหมด
เข้าชม : 288
|