การศึกษาเพื่อเด็กด้อยโอกาส
การจัดการศึกษาเพื่อเด็กด้อยโอกาสที่มีสภาวะยากลำบากซึ่งมีชีวิตความเป็นอยู่ด้อยกว่าเด็กปกติทั่วไป เนื่องจากเป็นผู้ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ ปัญหาสังคม หรือปัญหาอื่น ๆ จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษ เพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีพัฒนาการที่ถูกต้อง เหมาะสมกับวัย และสามารถบรรลุถึงศักยภาพขั้นสูงสุดได้ และเพื่อให้สอดคล้องกับการกำหนดประเภทของเด็กด้อยโอกาสในลักษณะสากล จึงได้กำหนดแบ่งเด็กด้อยโอกาสออกเป็น 15 ประเภท คือ เด็กถูกบังคับให้ขายแรงงานหรือแรงงานเด็ก เด็กเร่ร่อน เด็กที่อยู่ในธุรกิจทางเพศหรือโสเภณีเด็ก เด็กที่ถูกทอดทิ้ง/เด็กกำพร้า เด็กที่ถูกทำร้ายทารุณ เด็กยากจน (มากเป็นพิเศษ) เด็กในชุมชนกลุ่มน้อย เด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติด เด็กที่ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์หรือโรคติดต่อร้ายแรงที่สังคมรังเกียจ เด็กในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เด็กชาวไทยภูเขา ชาวเล เด็กต่างสัญชาติ เด็กที่ไม่ปรากฏสัญชาติ และเด็กอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากเด็กที่กล่าวมาข้างต้น มีผลการจัดการศึกษาให้กับเด็กด้อยโอกาส ปีการศึกษา 2544 รวมจำนวน 183,816 คน จำแนกเป็น ขายแรงงาน 41 คน เร่ร่อน 1,056 คน ธุรกิจทางเพศ 465 คน ถูกทอดทิ้ง 2,252 คน เด็กถูกทำร้าย 81 คน ยากจน 21,216 คน ชนกลุ่มน้อย 19,730 คน ยาเสพติด 189 คน โรคเอดส์ 7,949 คน เด็กในสถานพินิจ 3 คน ต่างสัญชาติ 9,280 คน ไม่ปรากฏสัญชาติ 3,340 คน และอื่น ๆ 25,438 คน
ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาในโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ จำนวน 42 โรงเรียน ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เงินอุดหนุนทั่วไป อุดหนุนบำรุงการศึกษา ให้บริการสุขภาพนักเรียน (ค่าพาหนะ) ค่าอาหารกลางวัน ค่าเครื่องแบบ และค่าอาหารเสริม (นม) มีนักเรียนรวม 37,900 คน
ส่งเสริมและสนับสนุนจัดการสอนวิชาชีพตามโครงการทำเครื่องเงินตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ใน 5 โรงเรียน คือ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แม่จัน จังหวัดเชียงใหม่ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ตาก จังหวัดตาก โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์น่าน จังหวัดน่าน และโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เลย จังหวัดเลย
จัดทำหลักสูตรการศึกษาสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาให้เหมาะสมกับท้องถิ่นกันดารในเขตพื้นที่จังหวัด แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ตาก น่าน สตูล ระนอง นราธิวาส ศรีสะเกษ ขอนแก่น และมุกดาหาร และจัดทำเอกสารเผยแพร่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาเด็ก และมีการศึกษาถึงสาเหตุที่นักเรียนออกกลางคันในแต่ละโรงเรียน
สนับสนุนโรงเรียนเอกชน จำนวน 41 โรงเรียน นักเรียนทั้งสิ้น 19,789 คน ในรูป เงินอุดหนุนรายหัวครูผู้สอน ฯลฯ
2. จัดการศึกษาเพื่อชุมชนในเขตภูเขา ซึ่งเป็นการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้อ่านออกเขียนได้ โดยมีหลักสูตรประถมศึกษาเพื่อชุมชนในเขตภูเขา พุทธศักราช 2524 ซึ่งเป็นหลักสูตรเฉพาะ และผนวกไปกับการพัฒนาด้านอื่น ๆ โดยให้ชาวเขารู้ปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน มีผู้รับบริการ 65,793 คน
การจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ
ปัจจุบันประเทศไทยขาดแคลนนักวิจัยและนักประดิษฐ์คิดค้นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีความสามารถสูง เพื่อดำรงอยู่และแข่งขันได้ในสังคมโลก จึงได้จัดตั้งโรงเรียนวิทยาศาสตร์ขึ้นเป็นการเฉพาะ และได้มีพระราชกฤษฎีกาประกาศโอนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์มาจัดตั้งเป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ขึ้นเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2543 โดยดำเนินการดังนี้
จัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ ปีการศึกษา 2545 มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 856 คน โดยเปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม. 4 – ม. 6) สายวิทยาศาสตร์
- มัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1 0 ห้อง ๆ ละ 24 คน รวม 240 คน
- มัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 9 ห้อง ๆ ละ 24 คน รวม 216 คน
- มัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10 ห้อง ๆ ละ 40 คน รวม 400 คน
พัฒนาเครื่องมือและกระบวนการที่มีประสิทธิภาพในการสรรหาคัดเลือกนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
ร่วมมือเป็นเครือข่ายกับสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานภายนอกพัฒนาหลักสูตร สื่อ กิจกรรมการเรียนการสอน และเชิญอาจารย์หรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมาเป็นวิทยากรและอาจารย์พิเศษ
ส่งเสริมและพัฒนาครูให้มีความเชี่ยวชาญในวิชาที่จะสอน
ประสานขอความร่วมมือและสร้างเครือข่ายกับสถาบันอุดมศึกษา สถาบันวิจัย โรงงานอุตสาหกรรม ทั้งภาครัฐ เอกชน เพื่อเป็นแหล่งส่งครูและนักเรียนไปดูงาน ฝึกงานและฝึกปฏิบัติงานวิจัย
รวบรวมโดย อมร ทองตุ่ม
เข้าชม : 328
|