|
ให้บริการจดทะเบียนคนพิการเพื่อรับสิทธิประโยชน์(คลิก)
|
หลักฐานในการจดทะเบียนคนพิการ(คลิก)
-
ใบประเมินความพิการจากโรงพยาบาลที่เป็นของรัฐบาล(เอกสารรับรองความพิการ)
-
สำเนาทะเบียนบ้านถ่ายเอกสาร จำนวน 2 ฉบับ
-
รูปถ่ายคนพิการขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป
-
สำเนาบัตรประชาชน จำนวน 2 ฉบับ
(ในกรณีเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ให้ใช้สูติบัตร (ใบเกิด) ) แทน
|
|
ในกรณีที่สมุดคนพิการหมดอายุ(คลิก)
-
นำสมุดคนพิการเล่มเดิมมาด้วย
-
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 1 ฉบับ
-
สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ฉบับ
-
รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 รูป
|
|
ในกรณีที่คนพิการไม่สามารถเดินทางมาจดทะเบียนคนพิการได้(คลิก)
-
ให้ญาติหรือผู้แทนคนพิการเป็นผู้นำเอกสารมายื่นคำร้องจดทะเบียนคนพิการแทน
-
ให้ญาติหรือผู้แทนนำสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนมาด้วย
|
|
ในกรณีสมุดประจำตัวสูญหาย ให้แจ้งความที่สถานีตำรวจ และนำใบแจ้งความมายื่นคำร้องขอจดทะเบียนใหม่(คลิก)
-
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 1 ฉบับ
-
สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ฉบับ
-
รูปถ่าย ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 รูป
-
สำเนาใบแจ้งความ จำนวน 1 ฉบับ
|
|
|
อุปการะในสถานสงเคราะห์ และศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการ ของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
|
|
แบบฟอร์มต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับคนพิการ(คลิก)
|
|
สงเคราะห์กายอุปกรณ์ และเครื่องช่วยความพิการ รถโยก (คลิก)
|
หลักฐานที่ใช้ประกอบการขอรถโยก(คลิก)
-
สมุดจดทะเบียนคนพิการพร้อมสำเนา จำนวน 1 ฉบับ
-
รูปถ่ายเต็มตัว จำนวน 1 รูป
-
ใบรับรองแพทย์ที่ระบุว่าแขนทั้ง 2 ข้าง แข็งแรงสามารถใช้งานได้ตามปกติ (ออกจากโรงพยาบาลหรือคลินิกก็ได้)
-
ทะเบียนบ้าน ถ่ายเอกสาร จำนวน 1 ฉบับ
|
|
|
ให้กู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพ โดยไม่เสียดอกเบี้ย และส่งคืนภายในระยะเวลา 5 ปี(คลิก)
|
ข้อปฏิบัติการยื่นคำร้องขอกู้เงินกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ(คลิก)
|
คุณสมบัติของผู้ขอกู้ยืมเงินกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ(คลิก)
-
เป็นคนพิการที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534
-
อายุไม่ตำกว่า 15 ปี
-
ได้รับการการฝึกอาชีพแล้ว หรือมีความสามารถประกอบอาชีพได้
-
มีความขยันขันแข็งในการประกอบอาชีพ และประพฤติตนเรียบร้อย
-
สามารถชำระหนี้ได้จากการประกอบอาชีพ
-
ไม่มีหนี้ค้างชำระจากเงินทุนนี้หรือเงินอื่นที่สืบทราบได้ว่าจะเป็นผลกระทบต่อการชำระหนี้สินให้กับกองทุนฯ
|
|
เอกสารที่ต้องนำมายื่นคำร้องขอกู้ยืมเงินกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ(คลิก)
-
สมุดประจำตัวคนพิการ (พร้อมสำเนา)
-
สำเนาเอกสารหลักฐานการศึกษา หรือ ประกาศนียบัตร หรือ วุฒิบัตรผ่านการฝึกอบรมวิชาชีพ
-
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (พร้อมสำเนา)
-
ทะเบียนบ้าน (พร้อมสำเนา)
-
รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป
-
รูปถ่ายแสดงความพิการชัดเจน จำนวน 1 รูป
-
แผนที่ตั้งแสดงที่พักอาศัย และแผนผังสถานที่ประกอบกิจการ
-
แบบประมาณการค่าใช้จ่าย
|
|
เอกสารของผู้ค้ำประกัน(คลิก)
-
ผู้ค้ำประกัน เช่น บุคคลที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ข้าราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และอยู่ในจังหวัดชัยนาท
-
ใบรับรองของผู้บังคับบัญชาของผู้ค้ำประกัน
-
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ บัตรข้าราชการ รับรองสำเนาถูกต้อง
-
สำเนาทะเบียนบ้าน รับรองสำเนาถูกต้อง
-
กรณีผู้ค้ำประกันมีคู่สมรส ให้แนบเอกสารสำเนาทะเบียนสมรส และหนังสือแสดงความยินยอมของคู่สมรส
|
|
|
|
ให้เบี้ยยังชีพคนพิการ เดือนละ 500.-บาทต่อคน(คลิก)
|
ปัจจุบันมีคนพิการรับเบี้ยยังชีพจำนวน 208 ราย
|
|
|
บริการประสานงานในการจัดหางานให้คนพิการ
|
|
องค์กรเครือข่ายงานพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการจังหวัดชัยนาท(คลิก)
|
|
หน่วยงานราชการที่ให้บริการช่วยเหลือคนพิการ(คลิก)
|
|
(ฐานข้อมูลสวัสดิการด้านคนพิการpoc)
|
|
จำนวนคนพิการในจังหวัดชัยนาท ที่จดทะเบียนตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534
|
|
จำนวนอาสาสมัครพัฒนาสังคมช่วยเหลือคนพิการ (อพมก.) ทั้งจังหวัดชัยนาท
|
|
กลุ่มอาชีพคนพิการจังหวัดชัยนาท
|
คนพิการที่ด้อยโอกาสประสบปัญหาความเดือดร้อน จะได้รับการสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 คือ
คือบุคคลซึ่งความสามารถถูกจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน และการมีส่วนร่วมทางสังคมได้โดยวิธีการทั่วไป เนื่องจากมีความบกพร่องทางการมองเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญาหรือการเรียนรู้ และมีความต้องการจำเป็นพิเศษด้านต่าง ๆ เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิต และมีส่วนร่วมในสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป
ประเภทความพิการ
-
พิการทางการมองเห็น
-
พิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย
-
พิการทางกายหรือการเคลื่อนไหว
-
พิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม
-
พิการทางสติปัญญาและการเรียนรู้
-
พิการซ้ำซ้อน (มีความพิการมากกว่า 1 ลักษณะขึ้นไป)
ได้ตระหนักถึงความสำคัญเรื่องสิทธิและโอกาสของคนพิการ โดยหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมกับคนพิการยกร่างพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534 กฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องส่งเสริมให้กับคนพิการได้รับโอกาส สิทธิการสงเคราะห์ การพัฒนา และ การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
ได้บัญญัติถึงการคุ้มครองเสรีภาพ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิของคนพิการ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถพึ่งพาตนเองได้ ในมาตรา 30,37,43,52,55,80 และมาตรา 109
ที่เกี่ยวข้องได้กำหนดให้คนพิการได้รับการคุ้มครอง การสงเคราะห์ การพัฒนา และการฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยวิธีทางการแพทย์ ทางการศึกษา ทางสังคม และการฝึกอาชีพ ตลอดจนแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจและสังคมให้แก่คนพิการ รวมทั้งให้สังคมมีส่วนร่วมในการเกื้อกูล และฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
กฏหมายที่เกี่ยวข้อง
พระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534
ฏกกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534
ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการไทย
คนพิการมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพแห่งบุคคล
คนพิการมีสิทธิแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง
คนพิการมีสิทธิเข้าร่วมตัดสินใจกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ
คนพิการมีสิทธิได้รับการดูแล ฟื้นฟูสมรรถภาพตั้งแต่แรกเกิด และแรกเริ่มที่มีความพิการ
คนพิการมีสิทธิได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ
คนพิการมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพในทุกระดับ
คนพิการมีสิทธิและโอกาสได้รับการเตรียมความพร้อมด้านอาชีพ
คนพิการมีสิทธิได้รับการปกป้องคุ้มครองและความช่วยเหลือการ
คนพิการมีสิทธิอยู่ร่วมกับครอบครัวและมีส่วนร่วมในชุมชนสังคม
คนพิการมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก บริการ และความช่วยเหลือจากรัฐ
คนพิการมีสิทธิได้รับการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
คนพิการมีสิทธิได้รับและเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะเรื่องสิทธิของคนพิการ
คนพิการและครอบครัว ชุมชน สังคม ได้รับ และเข้าถึงข้อมูลข่าวสารตามปฏิญญาฉบับนี้
รัฐต้องให้ความสำคัญและปฏิบัติตามเป็นสัญญาที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ
<<กลับ>>
เข้าชม : 380
|