แนวทางการประยุกต์ใช้ความรู้ แนวคิดที่ได้จากการศึกษาดูงานในการปฏิบัติงานนิเทศ
1. การให้ความสำคัญกับระบบ การที่โรงงานมีผลิตที่มีคุณภาพ ย่อมเกิดจาก การควบคุมปัจจัยป้อน ควบคุมกระบวนการผลิต ตรวจสอบคุณภาพระหว่างกระบวนการผลิต อย่างต่อเนื่อง แ ละการควบคุมคุณภาพการผลิตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำนองเดียวกับการดำเนินงานนิเทศที่มีเป้าหมายคือ คุณภาพการจัดการศึกษา และมีผลผลิตที่มีคุณภาพ ดังนั้น ศึกษาผู้บริหาร บุคลากรและศึกษานิเทศก์จะต้องร่วมมือกันในการควบคุม พัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ปัจจัยป้อน ได้แก่ การพัฒนาครูให้มีความรู้ ทักษะและทัศนคติที่ดีต่อการเป็นครู การปรับพื้นฐานผู้เรียน การพัฒนาหลักสูตร สื่อ ในกระบวนการผลิต มีการพัฒนาปรับปรุงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และมีการวัดประเมินผลเป็นระยะ ๆ เพื่อการปรับปรุง จนได้ ผู้สำเร็จการศึกษาที่มีคุณภาพให้กับสังคม
2. การให้ความสำคัญกับบุคลากร องค์กรจะเติบโต และยืนหยัดได้อย่างมั่นคงบุคลากรเป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะต้องสร้างขวัญ กำลังใจในการทำงาน เอาใจใส่ทุกข์สุขของบุคลากร และครอบครัว ทำให้ได้รับความจงรักภักดีต่อองค์กรและขับเคลื่อนงานไปได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้นิเทศจะต้องให้ความสำคัญกับ ผู้บริการ กศน.อำเภอ ครู ผู้นิเทศภายในของกศน, อำเภอ รวมทั้งเครือข่ายและผู้เกี่ยวข้องให้มีขวัญกำลังใจในการทำงาน สามารถทุ่มเท เสียสละและรู้สึกรักที่จะทำงานให้กับองค์กร
3. การให้ความสำคัญกับชุมชนรอบข้าง ในการจัดการ กศน. ในชุมชน ต้องให้คนในชุมชนได้รับประโยชน์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ศน.สามารถนำแนวคิดนี้ ไปใช้ในการนิเทศแก่ครู กศน.เกี่ยวกับ การสร้างความสำพันธ์อันดี มีความจริงใจ กับเครือข่ายในชุมชน เพื่อให้เกิดความราบรื่นในการปฏิบัติงานในพื้นที่
4. การให้ความสำคัญกับการสร้างสรรค์ผลผลิตใหม่ ๆ ที่แตกต่าง โดยคำนึงถึงศักยภาพภายในขององค์กร และพัฒนาสิ่งใหม่ วิธีการใหม่ ให้เข้ากับสภาพแวดล้อม และสถานการณ์ที่มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต ดังนั้น ในการนิเทศ สถานศึกษา จะต้องส่งเสริมให้สถานศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์ทั้งข้อมูลภายใน และสภาพแวดล้อมภายนอก รวมทั้งแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อการเตรียม หลักสูตร กศน. สื่อ วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สามารถเตรียมคนให้เหมาะสมกับสังคมที่เปลี่ยนไป โดยพัฒนาผู้เรียน กศน.ให้มีคุณลักษณะที่เหมาะสมกับความต้องการของสังคมในยุดใหม่ มีอัตลักษณ์ที่แตกต่างจากไปจากเดิม