ชุมชนลับแล หรือ เรียกแบบปัจจุบันว่า อำเภอลับแล แบ่งเป็นโซนเหนือ โซนใต้ ตามลักษณะของพื้นที่ ดังนี้ค่ะ
โซนทางใต้ ประกอบด้วย ต. ทุ่งยั้ง , ต. ไผ่ล้อม , ต.ชัยชุมพล และ ต. ด่านแม่คำมัน จะมีอาชีพ ทำนาข้าว ข้าวที่ปลูกส่วนใหญ่จะเป็นข้าวเหนียว เพราะคนที่นี่เขาทานข้าวเหนียวกันคะ ปีหนึ่งทำนาได้ถึง 3 ครั้ง แสดงว่าน้ำที่นี่ดีมากทีเดียว และยังมีการดำนา และลงแขกกันทำด้วยอีกค่ะ อีกอาชีพหนึ่งก็ ทำพันธุ์ หอมแดง หอมแบ่งขาย ได้ราคาดีทีเดียว
ส่วนโซนทางเหนือ ประกอบด้วย ต. ศรีพนมมาศ , ต.ฝายหลวง , ต. แม่พูล , ต.นานกกก จะอยู่ติดทางด้านภูเขา ชาวบ้านส่วนใหญ่จะมีอาชีพ ทำสวนป่าผลไม้ ที่เรียกว่าสวนป่าผลไม้ เพราะเขาทำสวนกันในป่าค่ะ คือสวนผลไม้ของพวกเขาปลูกแซมไปกับป่า เป็นภูมิปัญญาแต่ดั้งเดิมของชุมชนที่นี่ จึงให้ผลไม้รสหอมหวาน โดยไม่ต้องใส่ปุ๋ย ใส่ยา ผลผลิตก็มีทั้งปีค่ะ
คนอาจจะรู้จักลางสาด อุตรดิตถ์ แต่เดี๋ยวนี้ มีการต่อกิ่งลองกองบนต้นลางสาด ทำให้ได้ ลางกอง หรือลองกองรสชาติดี มากับลางสาดพร้อมกันเลย
ผลไม้ที่ว่ามีทั้งปี เริ่มจากเดือน เมษายน มี มะไฟ , เงาะ , มะปราง , มางชิด
พฤษภา เริ่มมี ทุเรียน มังคุด ลางสาด ลองกอง มะขุน
ผลผลิต ก็มีคนมารับซื้อถึงที่ มีตลาดกลางผลไม้ของที่นี่เองค่ะ ราคาขึ้นลงตามราคาตลาดทุกวัน
เราได้ไปดูตลาดสดฝายหลวง ในเช้าวันที่ฝนตกหนัก น้ำมาเป็นสีโคลนแรงมาก ฝายหลวงนี่ ได้ชื่อว่าเป็นฝายแห่งแรกของประเทศไทย อยู่ติดกับตลาดฝายหลวง
อาหารที่ขึ้นชื่อ ของที่นี่ เรียกว่า ข้าวพัน ค่ะ แบบดั้งเดิม ก็หน้าตาแบบนี้
แบบประยุกต์มาใหม่ ใส่ผักเข้าไป เรียก ข้าวพัน ใส้ผัก ราคาทั้งสองจาน จานละ 10 บาทเองคะ
แล้วก็มีอีกแบบที่ประยุกต์ ใส่เนื้อ ใส่ไข่ ราดน้ำจิ้มสุกี้ เป็นข้าวพันสุกี้ รสชาติเยี่ยม
ส่วนผลไม้ ทุเรียน ที่นี่นอกจากจะปลูกหมอนทองแล้ว พันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิม ลูกเล็ก แต่รสชาติสุดยอด มีการพัฒนาพันธุ์ขึ้นมา เป็น หลงลับแล และหลินลับแล ที่ขึ้นชื่อ จากการประกวดทุเรียนได้รับชนะเลิศหลายปีซ้อน ราคาก็ตก กก.ละ 200 บาททีเดียว
หลงลับแล ลูกไม่ใหญ่ค่ะ แต่เนื้อแน่น อร่อย
สิ่งที่ขึ้นชื่อของที่นี่อีกอย่างคือ ผ้าซิ่นตีนจก เป็นลายดั้งเดิม และมีการประยุกต์สีขึ้นมาใหม่
เดิมชาวบ้านก็เลิกนุ่งซิ่น และทิ้งกี่ทอผ้าไปแล้วนะคะ แต่คุณกัญญาวีร์ ได้เห็นถึงคุณค่าของผ้าทอมือของเก่า จึงไปกระตุ้นชาวบ้านให้กลับมาทออีกครั้ง ทำรายได้ให้ผู้หญิง นอกจากงานสวนได้ดีทีเดียว
เขาจะทอเฉพาะตรงตีนจก แล้วนำผ้าทอจากที่อื่นมาต่อ เป็นถุง แค่ตีนจกอย่างเดียวก็ใช้เวลาทอเป็นเดือนแล้วค่ะ แต่เขาก็ภูมิใจกับซิ่นของเขามากคะ มีการซื้อขายกันในหมู่บ้าน และคนนอกด้วย
ปัจจุบัน คุณกัญญาีร์ ได้ทำพิพิธภัณฑ์ผ้า ไว้ที่ม่อนลับแล ไปเที่ยวชมกันได้ค่ะ
เราได้ไปเยี่ยมชมหมู่บ้าน มีบ้านไม้ทรงโบราณยังหลงเหลืออยู่พอควรเลยคะ
ชาวบ้านจะปลูกดอกไม้ไว้หน้าบ้านทุกบ้าน บางบ้านก็ปลูกขาย ดอกกระเจียว สนนราคาดอกละ 5 บาท คุณพี่เจ้าของสวนน่ารักมาก ชวนคุยอยู่ตั้งนาน แถมมอบดอกไม้ให้เราไว้อีก
มาถึงที่นี่ อดจะต้องไปเยี่ยมชมน้ำตกที่มีชื่อเสียงของที่นี่ไม่ได้ น้ำตก แม่พูล อยู่ไม่ไกลจากที่เราพักค่ะ
วันนี้น้ำตกแม่พูล มีสีเป็นชานม เพราะฝนตกหนักเมื่อคืนนี่เอง
วันที่เราไป ข่าวก็บอกว่าที่นี่น้ำท่วมค่ะ แต่เราไม่เห็นสภาพน้ำท่วมแบบอยุธยา ที่นี่น่าจะเรียกว่าน้ำขอผ่านมากกว่า คือท่วม 1 ชม. ก็ลด แต่ปีที่ท่วมมาก คือปี 2549 ท่วมหนักจริงๆค่ะ จนชาวบ้านต้องมีระบบเตือนภัยที่มีประสิทธิภาพ
การอยู่กับธรรมชาติ โดยไม่ทำร้ายธรรมชาติ ก็จะอยู่กันได้อย่างสมดุล
ขอขอบคุณ
คุณธีรภาพ โลหิตกุล
คุณกัญญาวีร์ ศิริกาญจนารักษ์
คุณรัศ เสือน้อย
และชาวบ้านลับแล ทุกคน
เข้าชม : 3769
|