[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 


เนื้อหา : บทความ/หลักสูตร
หมวดหมู่ : การศึกษานอกระบบ
หัวข้อเรื่อง : หัวใจศึกษานิเทศก์

พฤหัสบดี ที่ 15 เดือน กันยายน พ.ศ.2554

คะแนน vote : 199  


หัวใจของศึกษานิเทศก์ **

 ก่อนที่ใครจะมาเป็นศึกษานิเทศก์ คงจะรู้จักศึกษานิเทศก์กันมาบ้างพอสมควร ทั้งภาพบวกและภาพลบ การที่ตัดสินใจเข้ามาเป็นศึกษานิเทศก์ คงจะมองเห็นภาพบวกมากกว่าภาพลบ แม้ภาพลบจะติดมาบ้างก็ตาม

ทำอย่างไรจึงจะให้ภาพบวกตรึงตาติดใจอยู่ตลอดไป จึงเป็นสิ่งที่ต้องไตร่ตรอง มองให้เห็นคุณค่าของความเป็นศึกษานิเทศก์ให้ถ่องแท้ จนมั่นใจในการตัดสินใจมาเป็นศึกษานิเทศก์

 คำถามที่จะต้องถามตัวเองเพื่อความมั่นใจนั้น มีอยู่ 3 ข้อ คือ

 ข้อ 1 เขามีศึกษานิเทศก์ไว้ทำไม?

 ข้อ 2 ศึกษานิเทศก์มีหลักการทำงานอย่างไร?

 ข้อ 3 ศึกษานิเทศก์มีหลักในการปฏิบัติอย่างไร?

ท่านอภิมหาศึกษานิเทศก์ นายวินัย เกษมเศรษฐ อดีตหัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา ได้พูดถึงคำตอบทั้ง 3 ข้อ * ที่ศึกษานิเทศก์ควรพิจารณาประกอบคำตอบของตัวเอง ดังนี้

 

คำตอบข้อ 1 ศึกษานิเทศก์มีไว้เพื่อบริหารความเปลี่ยนแปลง

การบริหาร  หมายถึง การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สอดคล้องกับ จุดประสงค์ของศึกษานิเทศก์

การเปลี่ยนแปลง หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาทั้งในสังคมโดยทั่วไป และในโรงเรียน

ศึกษานิเทศก์จะต้องวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิด เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ในการบริหารให้ครูเปลี่ยนพฤติกรรมให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตร

การไปนิเทศของศึกษานิเทศก์ จึงไม่ใช่ไปรับปัญหาของโรงเรียน แต่ไปเพื่อบริหารความเปลี่ยนแปลง

 คำตอบที่ 2 การทำงานของศึกษานิเทศก์ต้องสอดคล้องกับนโยบายของกรมสามัญศึกษา โดยมีเงื่อนไข ที่ต้องพิจารณานำไปปฏิบัติ 3 ประการ  

1. คน

2. งาน

3. สถานการณ์

คน ได้แก่ ครู ซึ่งมีค่านิยม ประสบการณ์ และความรู้สึกนึกคิดต่างกัน

 งาน มี 4 ประเภท คือ

- งานปกติ

- งานที่มีปัญหา ศน.ต้องรู้จักปัญหา ข้อจำกัด แล้วหาวิธีแก้ให้ตรงปัญหา

- งานริเริ่มสร้างสรรค์

- งานพัฒนามนุษย์ ซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะเป็นหัวใจที่จะทำงานทั้ง 3 ประเภท ดังกล่าวแล้วให้สำเร็จได้

สถานการณ์ มี 2 ประเภท คือ

- สถานการณ์ที่เกี่ยวกับคน

- สถานการณ์ที่อยู่นอกเหนือการควบคุม

การทำงานของศึกษานิเทศก์จึงต้องให้เหมาะสม สอดคล้องกันทั้ง 3 ประการ คือ คน งาน และสถานการณ์

คำตอบข้อ 3 งานของศึกษานิเทศก์เป็นวิชาชีพ (Professional Growth, Career Development)

ศึกษานิเทศก์จึงต้องปฏิบัติตน ดังนี้

1. เรียนรู้ด้วยตนเอง (Self Directed Learner) โดย

- รับรู้นานาวิทยาการ

- เรียนรู้ ในด้านความรู้ ความคิด และเจตคติ

- จำได้

- คิดได้ถูกต้องตามเงื่อนไขของการทำงาน คือ คน งาน และสถานการณ์

2. สามารถทำงานเป็นกลุ่มได้ โดย

- มีความเหนียวแน่นในกลุ่ม (Group Cohesion)

- มีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Interpersonal Relationship)

 ใครจะตอบคำถามทั้ง 3 ข้อข้างต้นอย่างไร หรือจะขานรับคำตอบของอดีตหัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์ หรือไม่ ก็เป็นสิทธิของตัวเอง แต่สำหรับผู้เขียนแล้ว คำตอบทั้ง 3 ข้อนี้คือ “หัวใจของศึกษานิเทศก์”

 



เข้าชม : 951


การศึกษานอกระบบ 5 อันดับล่าสุด

      หัวใจศึกษานิเทศก์ 15 / ก.ย. / 2554
      การกำหนดตัวบ่งชี้ในการประเมินโครงการ บทความกลุ่มที่ 9 15 / ก.ย. / 2554
      แนวคิดที่ได้จากการดูงานโรงงาน 2 แห่ง 15 / ก.ย. / 2554




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้ [กด F5 ถ้ารหัสไม่ชัดเจน]
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ mocyc@hotmail.com เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

 
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอน้ำปาด
๓๔๕  หมู่ ๔ ถ.ถนนเพชรานุรักษ์   ต.แสนตอ  อ.น้ำปาด จ.อุตรดิตถ์   ๕๓๑๑๐  
โทรศัพท์ ๐๕๕-๔๘๑๐๑๕ โทรสาร ๐๕๕-๔๘๑๐๑๕
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by