[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
 


เนื้อหา : บทความ/หลักสูตร
หมวดหมู่ : บทความสุขภาพ
หัวข้อเรื่อง : อาหารต้านมะเร็ง

ศุกร์ ที่ 6 เดือน กันยายน พ.ศ.2556

คะแนน vote : 222  

9 เคล็ดลับ อาหารต้านมะเร็ง
ผู้เขียนได้รับปฏิทินจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ มีคำแนะนำดีๆเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภค ที่ช่วยลดอัตราการเป็นมะเร็ง เห็นว่ามีประโยชน์จึงขออนุญาตนำมาเผยแพร่ดังนี้ครับ
ปัจจัยการเกิดโรคมะเร็งนั้นพบว่ามีปัจจัยที่สำคัญแบ่งได้เป็น 4 กลุ่มได้แก่
< !--[if !supportLists]-->1. <!--[endif]-->เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคร้อยละ 30
< !--[if !supportLists]-->2. <!--[endif]-->เกิดจากบุหรี่และเหล้าร้อยละ 30
< !--[if !supportLists]-->3. <!--[endif]-->เกิดจากการติดเชื้อร้อยละ 20
< !--[if !supportLists]-->4. <!--[endif]-->เกิดจากสาเหตุอื่นๆร้อยละ 20
พฤติกรรมการบริโภคที่ดีสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งได้ถึงร้อยละ 30 มีคำแนะนำ 9 ประการดังนี้
< !--[if !supportLists]-->1. <!--[endif]-->กินผักหลากสีทุกวัน สารที่ก่อมะเร็งจะทำให้เกิดสารอนุมูลอิสระ( Free radicals) ซึ่งสารนี้จะทำปฏิกิริยากับโมเลกุลสำคัญในร่างกายเช่น โปรตีน ไขมัน และดีเอ็นเอ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์ ซึ่งสารอนุมูลอิสระเหล่านี้จะถูกกำจัดได้ โดยสารต้านอนุมูลอิสระ(Antioxidant) ที่มีในผักและผลไม้ ผักแต่ละสีแต่ละชนิดมีประโยชน์และให้คุณค่าที่แตกต่างกัน ควรรับประทานผักให้หลากหลายหรือให้ครบ 5 สี จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อสุขภาพ ตัวอย่างของผักและสารสีต่างๆได้แก่ สารสีแดง ในมะเขือเทศ มีสารต้านอนุมูลอิสระที่เรียกว่า ไลโคปีน (Lycopene) ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งกระเพาะอาหารและมะเร็งปอด สารสีเหลืองส้ม ในฟักทอง แครอท มีสารต้านอนุมูลอิสระแคโรทีนนอยด์ (Beta-carotene) และอุดมไปด้วยวิตามินที่สามารถต้านการเกิดสารอนุมูลอิสระในร่างกาย การบริโภคควรทำให้สุกก่อน สารสีเขียว ในคะน้า บล็อคโคลี่ ผักบุ้ง กวางตุ้ง ตำลึง มีวิตามินซี และวิตามินเอ สารสีม่วง ในกะหล่ำสีม่วง ชมภู่มะเหมี่ยว มะเขือม่วง ดอกอัญชัญ มีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ช่วยยับยั้งสารก่อมะเร็ง สารสีขาว ในมะเขือขาวเปราะ ผักกาดขาว ดอกแค มีเบตาแคโรทีนสูง ช่วยกำจัดสารอนุมูลอิสระ
< !--[if !supportLists]-->2. <!--[endif]-->ขยันหาผลไม้เป็นประจำ เช่นเดียวกับผักที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ
< !--[if !supportLists]-->3. <!--[endif]-->ทำอาหารธัญพืชและเส้นใย ธัญพืชเต็มเมล็ด คือ ธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสีหรือขัดสีน้อยที่สุดทำให้มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เช่นใยอาหาร วิตามิน แร่ธาตุ ไฟโตนิวเตรียนท์ และสารต้านอนุมูลอิสระต่างๆ ตัวอย่างได้แก่ ข้าวกล้อง ข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ ลูกเดือย นอกจากนี้ใยอาหารในธัญพืชยังทำหน้าที่สำคัญในการพาสารต่างๆที่เป็นโทษต่อร่างกายซึ่งติดบริเวณลำไส้ให้ขับถ่ายออกไป จึงช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งทางเดินอาหารและลำไส้ใหญ่
< !--[if !supportLists]-->4. <!--[endif]-->ใส่เครื่องเทศเสริมรสชาติอาหาร เครื่องเทศหมายถึง ส่วนต่างๆของพืชที่นำมาใช้เป็นเครื่องปรุงอาหารหรือเพื่อให้อาหารมีกลิ่นหอม สารประกอบอินทรีย์ที่เป็นกลิ่นหอมของเครื่องเทศนั้นมาจากส่วนที่เป็นน้ำมัน(Fixed oil) และน้ำมันหอมระเหย (volatile oil) ส่วนรสชาติที่เผ็ดร้อนนั้นมาจากส่วนที่เป็นยาง (Resins) นอกจากนี้ยังมีสารหลายชนิดซึ่งมีสรรพคุณลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง และกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้
< !--[if !supportLists]-->5. <!--[endif]-->เพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ ชาเขียวได้มาจากการนำยอดใบชาสดมาผ่านกระบวนการอบ เพื่อลดความชื้นโดยไม่ผ่านการหมัก ในชาเขียวมีสาร Polyphenol และ Flavonoids หรือที่เรียกว่า Catechins ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญสามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ การดื่มชาเขียวควรดื่มทันทีหลังจากชงเสร็จเนื่อจากถ้าทิ้งไว้ ชาเขียวจะทำปฏิกิริยากับออกซิเจน ทำให้สูญเสียคุณค่าไป
< !--[if !supportLists]-->6. <!--[endif]-->ปรุงอาหารถูกวิธี หลีกเลี่ยงการปิ้งย่างจนไหม้เกรียม ไม่รับประทานอาหารแบบดิบๆสุกๆโดยเฉพาะปลาน้ำจืดที่มีเกล็ด
< !--[if !supportLists]-->7. <!--[endif]-->หลีกหนีอาหารไขมัน ไขมันมีสองประเภท ประเภทที่ไม่ดีได้แก่ไขมันอิ่มตัว ในนมเนย ไขมันสัตว์ มะพร้าว น้ำมัมปาล์ม และน้ำมันทอดซ้ำ ประเภทที่ดี ได้แก่ ไขมันไม่อิ่มตัว พบใน น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันเมล็ดฝ้าย น้ำมันดอกทานตะวันและปลาที่มีมันมากเช่น ปลาซาดีน ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาจาระเม็ด ปลาช่อน ปลาสำลีเป็นต้น
< !--[if !supportLists]-->8. <!--[endif]-->ลดบริโภคเนื้อแดง ควรจำกัดการรับประทานเนื้อแดงให้เหลือเพียงสัปดาห์ละ 500 กรัม เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ ชุดอาหารที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ได้แก่ สเต็กคู่กับมันฝรั่ง เบคอนกับไข่ และเนื้อย่างโดยไม่มีผัก
< !--[if !supportLists]-->9. <!--[endif]-->ลดบริโภคเกลือแกงอาหารหมักดอง ในวันหนึ่งๆควรบริโภคเกลือไม่เกินวันละ 6 กรัม การบริโภคอาหารที่มีปริมาณเกลือสูงเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ควรเลี่ยงอาหารหมักดองหรือปรุงแต่งสีด้วยดินประสิวเช่น ปลาร้า ปลาส้ม แหนม กุนเชียง เนื้อเค็ม ปลาเค็ม เพราะมีสารก่อมะเร็งที่เรียกว่าสารไนโตรซามีน
ด้วยความปรารถนาดีจาก
นายแพทย์สุกิจ ทัศนสุนทรวงศ์
ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา
http://caner-srisupan.blogspot.com/2012/08/9.html#!/2012/08/9.html  วันที่ 6 กันยายน 2556 หยาดอรุณ  ศรีเขื่อนแก้ว : สืบค้น/เรียบเรียง


เข้าชม : 1103


บทความสุขภาพ 5 อันดับล่าสุด

      อาหารต้านมะเร็ง 6 / ก.ย. / 2556
      การดูแลสุขภาพตนเอง กลุ่ม ๗ 15 / ก.ย. / 2554
      ณประโยชน์จากแอปเปิ้ล และบลูเบอร์รี่ มาช่วยลดความเครียด 11 / ก.พ. / 2554
      ใครที่ชอบทานเต้าหู้ 19 / มิ.ย. / 2551
      อาบน้ำให้หมดจด ห่างไกลโรคภัย 27 / เม.ย. / 2551