เป็นที่ทราบกันดีในวงนักวิชาการว่า ผู้ที่เป็นโรคดาวน์ซิน โดรม หรือปัญญาอ่อน มักไม่ค่อยป่วยเป็นโรคมะเร็ง ซึ่งนักวิทยาศาสตร์สหรัฐค่อนข้างทราบแน่ชัดแล้วว่า ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น …
ดร.ซานดร้า ไรออม และคณะจากมหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา พบว่า ผู้เป็นโรคดาวน์ซินโดรมมีโครโมโซม 21 จำนวน 3 โครโมโซม ขณะที่คนปกติมี 2 โครโมโซม การที่มีโครโมโซม 21 มากกว่าคนปกติ 1 โครโมโซม ทำให้ผู้เป็นดาวน์ซินโดรมมียีนเพิ่มอีก 231 ยีน โครโมโซมที่เกินมายังมีจำนวนโปรตีน DSCR1 เพิ่มขึ้น ซึ่งโปรตีน DSCR1 ช่วยต้าน “แคนซินูริน” ไม่ให้เนื้องอกหรือมะเร็งเลี้ยงตัวเอง และการค้นพบนี้อาจทำให้แพทย์หา วิธีการรักษาโรคมะเร็งได้
โรคดาวน์ซินโดรมเป็นโรคพันธุกรรมที่พบกันมาก ทำให้ปัญญาอ่อน โดยทารก 1 ใน 700 คน มีโอกาสเป็นโรคนี้
ดร.จูดาห์ โฟล์กแมน อดีตอาจารย์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและเพิ่งเสียชีวิตเมื่อปีที่แล้ว เป็นหนึ่งในผู้ที่ค้นคว้าโรคดาวน์ซินโดรมชั้นแนวหน้า ทฤษฎีของท่านคือ “เซลล์เนื้องอกหรือเซลล์มะเร็งกระตุ้นให้หลอดเลือดเจริญเติบโต เพื่อมันจะได้กินอาหาร กระบวนการนี้เรียกว่าแอนจิโอจีนีซิส” ดร.โฟล์กแมน ยังพบว่า ผู้เป็นโรคดาวน์ซินโดรมมักไม่ค่อยเป็นมะเร็ง ยกเว้นมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือลูคีเมีย จากการศึกษาผู้ป่วย 18,000 ราย มีประมาณ 10% ที่เป็นมะเร็ง
การศึกษาที่ผ่านมายังพบว่า ผู้เป็นดาวน์ซินโดรม มีโอกาสน้อยมากที่จะป่วยเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการแอนจิโอจีนีซิส เช่น โรคเบาหวานในจอประสาทตา โรคหลอดเลือดแข็ง ซึ่งวิธีการรักษาผู้ป่วยมะเร็งในอนาคตอาจต้องหาวิธีต้านกระบวนการแอนจิโอจีนีซิสนั่นเอง …
รวบรวมโดย...นางสาวชลลดา คานจันทึก
เข้าชม : 110
|