[x] ปิดหน้าต่างนี้
   

  

กศน.อุบลราชธานี
สร้างความสัมพันธ์ในกลุ่มคนพิการ

พฤหัสบดี ที่ 24 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2553


ภูมิปัญญาปฏิบัติกับชุมชนแห่งการฟื้นฟู
ระบบการแพทย์สัมพันธ์และผูกพันธ์กับระบบวัฒนธรรมซึ่งทำหน้าที่ให้คุณค่า และความหมาย รวมทั้งจัดความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ในสังคม ระบบการแพทย์ที่แตกต่างกันจึงให้ความหมายของความเจ็บป่วยและจัดความสัมพันธ์ ระหว่างผู้ป่วยและผู้ให้การบำบัดรักษาแตกต่างกันไป



การแพทย์สมัยใหม่เน้นความสัมพันธ์ที่เป็นทางการ และอธิบายโรคผ่านความรู้ทางชีววิทยา เป็นระบบการรักษาที่แม้มีประสิทธิภาพโดยเฉพาะสำหรับโรคและความผิดปกติบางชนิด แต่สำหรับโรคเรื้อรังหรือความเจ็บป่วยที่ต้องการมากกว่าการรักษาแบบกลไกที่แยกร่างกายออกเป็นส่วนๆ แล้ว ระบบการแพทย์สมัยใหม่ยังไม่สามารถตอบสนองได้ดีเท่าที่ผู้ป่วยและญาติต้องการ

โดยเฉพาะกับผู้ป่วยเรื้อรังและการฟื้นฟูความพิการซึ่งต้องการการดูแลรักษาเอาใจใส่ที่ต่อเนื่องยาวนาน ระบบการเยียวยาจึงต้องสอดคล้องกับวิถีชีวิตและบริบททางสังคมวัฒนธรรม

สำหรับชาวบ้านจำนวนไม่น้อย การไปนอนพักรับการทำกายภาพบำบัดที่โรงพยาบาลเป็นระยะเวลายาวนานเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ไม่เพียงเพราะการเดินทางและที่พักอาศัยซึ่งทางโรงพยาบาลมักไม่มีไว้รองรับญาติ แต่กระบวนการและระเบียบวิธีที่เกี่ยวข้องกับการเยียวยารักษาก็ยังเป็นเรื่องแปลกแยกไปจากพื้นฐานทางความรู้ ความเข้าใจและความคาดหวังของชาวบ้าน
ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ชุมชนมีอยู่เดิมจึงเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับการเยียวยาความเจ็บป่วยเรื้อรังและฟื้นฟูความพิการที่หนังสือเล่มเล็กนี้นำเสนอเป็นตัวอย่าง

การกลับมาหาภูมิปัญญาท้องถิ่นไม่ได้หมายถึงการกลับไปรื้อฟื้นอดีตและนำภูมิปัญญามาใช้อย่างสำเร็จรูปตายตัว ดังที่เราจะเห็นได้จากกรณีศึกษาต่างๆ ในหนังสือเล่มนี้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นเหล่านี้มีการปรับตัว ผลิตใหม่ และผลิตซ้ำในบริบทใหม่ให้มีความหมายต่อการเยียวยาความทุกข์ของผู้พิการได้อย่างที่คงเอกลักษณ์เฉพาะตนของภูมิปัญญาชาวบ้านไว้อย่างน่าสนใจ

ความสนใจเกี่ยวกับการฟื้นฟูความพิการโดยชุมชน หรือที่องค์การอนามัยโลกเรียกว่า Community-Based Rehabilitation (CBR) นั้นมีมายาวนานมากกว่าสองทศวรรษ โดยเหตุผลสำคัญที่ว่า การฟื้นฟูความพิการนั้นไม่ใช่แค่การจัดการกับข้อจำกัดทางร่างกายหรือจิตใจที่ผิดปกติไป แต่เป็นการฟื้นฟูชีวิตชีวิตหนึ่งที่สะดุดล้มลงให้ลุกขึ้นมาได้ใหม่อีกครั้ง เป็นการฟื้นฟูศักยภาพด้านต่างๆ เพื่อทดแทนและชดเชยส่วนที่ขาดหายไป และเป็นการฟื้นฟูชีวิตทางสังคมที่จะทำให้คนพิการสามารถเป็นส่วนหนึ่งของสังคมได้

การฟื้นฟูชีวิตที่ว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดขึ้นลำพังเฉพาะแต่ในระบบบริการทางการแพทย์ แต่ต้องเป็นการฟื้นฟูในบริบทของชุมชนที่มีผู้คนหลากหลายมาเกี่ยวข้อง เพราะการฟื้นฟูดังกล่าวไม่ได้เป็นเรื่องการปรับตัวของคนพิการ แต่เป็นเรื่องการปรับตัวของชุมชนควบคู่กันไปในขณะเดียวกันด้วย

หากเราสนใจศึกษาการเยียวยาผู้พิการโดยชุมชนซึ่งมีอยู่ก็จะเห็นศักยภาพของชุมชนอ้าแขนรับคนพิการและมีส่วนร่วมในการบำบัดเยียวยาอย่างไม่นิ่งดูดายต่อความทุกข์ยากของผู้คนที่กำลังเผชิญกับปัญหา

เป็นการสร้างชุมชนแห่งการเยียวยาที่จะฟื้นฟูชีวิตผู้คนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ถูกประยุกต์ใช้ผ่านประสบการณ์ที่ยาวนาน จนเราเรียกได้ว่าเป็นความงดงามของ “ภูมิปัญญาปฏิบัติในชุมชนแห่งการเยียวยา”



เข้าชม : 158


กศน.อุบลราชธานี 5 อันดับล่าสุด

      คนพิการ 24 / มิ.ย. / 2553
      การพบปะกลุ่มคนพิการ 24 / มิ.ย. / 2553
      การดูแลคนพิการ 24 / มิ.ย. / 2553
      การลงพื้นที่ 24 / มิ.ย. / 2553
      การบำบัดคนพิการ 24 / มิ.ย. / 2553




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ ที่นี่ เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

กศน.ตำบลวังแดง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ โทรศัพท์ 085-7275600 E-mail : nok_thank@hotmail.com
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.04tb    Admin