กศน.ฉะเชิงเทรา อบรม ICT ครูผู้สอนคนพิการ
พฤหัสบดี ที่ 24 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2553
|
|
ประเภทของความพิการ
คนพิการแต่ละประเภทมีรายละเอียดความพิการในกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 กำหนดลักษณะ ดังนี้
[แก้] พิการทางการมองเห็น
คือ คนที่มีสายตาข้างที่ดีกว่าเมื่อใช้แว่นสายตาธรรมดา แล้วมองเห็นน้อยกว่า 6/18 หรือ 20/70 จนมองไม่เห็นแม้แต่แสงสว่าง หรือมีลานสายตาแคบกว่า 30 องศา
[แก้] พิการทางการได้ยินและสื่อความหมาย
การได้ยิน
เด็กอายุน้อยกว่า 7 ปี ลักษณะความพิการ คือ หูตึงปานกลาง หูตึงมาก หูตึงรุนแรง หูหนวก ความดังเฉลี่ยเกิน 40 เดซิเบล จนไม่ได้ยิน ระดับความผิดปกติ 2 ถึง 5
เด็กอายุเกิน 7 ปี ถึงผู้ใหญ่ ลักษณะความพิการ คือ ความผิดปกติ หูตึงมาก หูตึงรุนแรง หูหนวก ความดัง 55 เดซิเบลขึ้นไป ระดับความผิดปกติ 2 ถึง 5
การสื่อสาร
[แก้] พิการทางกาย หรือการเคลื่อนไหว
ลักษณะความพิการ คนที่มีความผิดปกติหรือความบกพร่องของร่างกายเห็นชัดเจน และคนที่สูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหว ทำให้ไม่สามารถประกอบกิจวัตรในชีวิตประจำวันได้ ระดับความผิดปกติ 3 ถึง 5
[แก้] พิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม
ลักษณะความพิการ คนที่มีความผิดปกติ ความบกพร่องทางจิตใจ หรือสมองในส่วนรับรู้ อารมณ์ ความคิด จนไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมที่จำเป็นในการดูแลตนเอง หรืออยู่ร่วมกับผู้อื่น ระดับความผิดปกติ ระดับที่ 1 และระดับที่ 2
[แก้] พิการทางสติปัญญาหรือการเรียนรู้
ลักษณะพิการ คือ คนที่มีความผิดปกติ หรือความ บกพร่องทางสติปัญญาหรือสมอง จนไม่สามารถเรียนรู้ด้วยวิธีการศึกษาปกติได้
[แก้] พิการซ้ำซ้อน
มีความพิการมากกว่า 1 ลักษณะขึ้นไป เด็กพิการซ้ำซ้อน เด็กพิการซ้ำซ้อน หมายถึง เด็กที่มีสภาพความบกพร่องหรือความพิการมากกว่าหนึ่งอย่างในบุคคลเดียวกัน เช่น เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นกับบกพร่องทางการได้ยิน หรือบกพร่องทางการได้ยินกับบกพร่องทางสติปัญญา เป็นต้น
นำเสนอโดยครูหนึ่งนุช สุขโชค
เข้าชม : 142
|
|
กศน.ฉะเชิงเทรา 5 อันดับล่าสุด
สุขภาพผู้พิการ: 24 / มิ.ย. / 2553
อบรม ICT ครูผู้สอนคนพิการ 24 / มิ.ย. / 2553
ความพิการทั้ง 9 ประเภท 24 / มิ.ย. / 2553
|