สาระสำคัญ เรื่อง สิทธิคนพิการตามกฎหมาย (มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย)
กรอบแนวคิดการขับเคลื่อนเรื่องสิทธิของคนพิการ เป็นไปตาม “อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ” โดยระบบความคิดในการทำงานด้านคนพิการต้องประกอบด้วยหลักการสำคัญ ๔ ประการ ดังนี้
๑. คนพิการทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน - โดยเปลี่ยนสังคมไทยจาก “เวทนานิยม”หรือ “สังคมฐานสงเคราะห์” ไปสู่ “สังคมฐานสิทธิ” ซึ่งคนพิการทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันและเท่าเทียมกับคนทั่วไป เช่น คนพิการทุกคนจะได้ “เบี้ยความพิการ” เดือนละ ๕๐๐ บาท ตั้งแต่เมษายน ๒๕๕๓ ส่วน “สังคมฐานสงเคราะห์”ขึ้นอยู่กับว่า ผู้ให้จะให้ใคร เป็นเรื่องของเมตตาธรรม ซึ่งเหมาะกับการดูแลคนแบบปัจเจก หรือเป็นรายบุคคล ซึ่งมักปฏิบัติโดยองค์กรเอกชน แต่ ระดับรัฐต้องปฏิบัติงานโดยใช้ฐานสิทธิ
๒. “ความพิการ”เป็นความหลากหลายของมนุษยชาติ คนพิการจึงมีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์และสิทธิเท่าเทียมกับคนทั่วไป - การกำหนดนิยามของ “ความพิการ” จึงไม่ให้ความสำคัญต่อความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ หรือสติปัญญา แต่ “ความพิการ” ขึ้นอยู่กับสังคม สภาพแวดล้อม และโอกาส ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยคนพิการให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุขเท่าเทียม กับคนทั่วไป ถ้าสภาพแวดล้อมไม่เอื้อ คนพิการยิ่งพิการมากขึ้น ในทางตรงกันข้าม ถ้าคนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากทุกสิ่งทุกอย่างได้อย่างเท่าเทียม กับคนทั่วไป ความพิการก็จะไม่มาก นั่นคือ ความพิการ เกิดจากสภาพร่างกายของคนพิการ กับ อุปสรรคในสภาพแวดล้อม
๓. คนพิการต้องไม่ถูกเลือกปฏิบัติ – โดยดำเนินการให้มีการปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องซึ่งระบุว่า การเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมต่อคนพิการจะปฏิบัติมิได้ และ
๔. คนพิการและผู้ดูแลคนพิการต้องได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย – ถ้าคนพิการและผู้ดูแลคนพิการได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายต่างๆ ความพิการจะไม่เป็นอุปสรรคและคนพิการจะสามารถดำรงชีวิตในสังคมอย่างเท่า เทียมกับคนทั่วไป (ศ.วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ประธานมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ / มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๒๒ ธ.ค. ๒๕๕๒) ดาวน์โหลดเพื่ออ่านต่อhttp://www.tddf.or.th/tddf/library/files/doc/21-12-09.doc
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
วันอังคารที่ 22 ธันวาคม2553